การประกวดแข่งขันผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน การประกวดแข่งขันทักษะวิชาการ และการประกวดสถานศึกษาที่มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนดีเด่น ในการประชุมวิชาการ การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2565 ระดับประเทศ ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน


วันที่ 10 ตุลาคม 2565 นายอโณทัย ไทยวรรณศรี ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการประกวดแข่งขันผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน การประกวดแข่งขันทักษะวิชาการ และการประกวดสถานศึกษาที่มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนดีเด่น ในการประชุมวิชาการ การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2565 รอบระดับประเทศ ณ ห้องแกรนด์พาร์ค โรงแรมเอวาน่า เขตบางนา กรุงเทพฯ

การประกวดแข่งขันในครั้งนี้ มีครูและนักเรียนจากสถานศึกษาในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชน ตามพระราชดำริ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้าร่วมการประกวดใน 3 กิจกรรม ดังนี้

1) การประกวดแข่งขันผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน โดยมีครูร่วมส่งผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน 6 ด้าน รวมจำนวนทั้งสิ้น 253 ผลงาน จาก 253 โรงเรียน ดังนี้
1) ด้านโภชนาการและสุขภาพอนามัย จำนวน 40 ผลงาน รวม 40 โรงเรียน
2) ด้านการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา จำนวน 44 ผลงาน รวม 44 โรงเรียน
3) ด้านการส่งเสริมอาชีพ จำนวน 44 ผลงาน รวม 44 โรงเรียน  
4) ด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น จำนวน 44 ผลงาน รวม 44 โรงเรียน  
5) ด้านคุณธรรมและจริยธรรม จำนวน 41 ผลงาน รวม 41 โรงเรียน
6) ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 40 ผลงาน รวม 40 โรงเรียน

2) การประกวดแข่งขันทักษะวิชาการ โดยมีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวนทั้งสิ้น 92 คน จาก 62 โรงเรียน เข้าร่วมการประกวดแข่งขันทักษะวิชาการ 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) การวาดภาพ 2) การเขียนเรียงความภาษาไทย 3) การเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ และ4) การทำโครงงานหรืองานประดิษฐ์ 

3) การประกวดสถานศึกษาที่มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนดีเด่น โดยมีสถานศึกษาเข้าร่วมการประกวด รวม 3 ด้าน จำนวนทั้งสิ้น 106 ผลงาน จาก 103 โรงเรียน  ได้แก่
1) ด้านการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน จำนวน 38 ผลงาน รวม 38 โรงเรียน
2) ด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัย จำนวน 26 ผลงาน รวม 25 โรงเรียน
3) ด้านการส่งเสริมสหกรณ์นักเรียน จำนวน 42 ผลงาน รวม 40 โรงเรียน

ภาพจาก: สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน