“…การที่นักเรียนได้เรียนต่อนั้น ก็จะเป็นประโยชน์ต่อตัวนักเรียนเอง คือเมื่อมีความรู้มากขึ้นควรจะมีโอกาสที่จะได้เลือกงานอาชีพที่จะเลี้ยงตัว ที่จะทำประโยชน์ให้แก่ตนเองและทำประโยชน์ให้กับคนอื่นได้มากขึ้น …”

พระราชดำรัสพระราชทาน
วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2535
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร

ทุนการศึกษาพระราชทานมีขึ้นครั้งแรกเมื่อพุทธศักราช 2531 ด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานทุนการศึกษาให้นักเรียนในโรงเรียนห่างไกลทุรกันดารได้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นตามระดับสติปัญญาและความสามารถภายหลังจากจบการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารในสมัยนั้น

เมื่อเวลาผ่านไป พื้นที่ทรงงานเพิ่มขึ้น ทำให้กลุ่มเป้าหมายมีความหลากหลายมากขึ้น ทุนการศึกษาพระราชทานจึงขยายความครอบคลุมกว้างขวางขึ้นเป็นลำดับ

จนถึงปัจจุบัน ทุนการศึกษาพระราชทานได้แบ่งกลุ่มเป้าหมายดังนี้

นักเรียน
ในพระราชา
นุเคราะห์

ทุนการศึกษา
พระราชทานบุตรครู

ทุนการศึกษาพระราชทาน
ตามพระราชประสงค์