กลุ่มอาชีพประชาชน จังหวัดนครศรีธรรมราช
กลุ่มเครื่องเงินบ้านเขาวัง
ปีที่เข้าร่วม 2555
ที่ตั้ง รร.ตชด.บ้านเขาวัง ตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ความเป็นมา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้ขยายกลุ่มอาชีพเพิ่มขึ้น โดยเน้นการช่วยเหลือราษฎรที่ยากจนและมีความต้องการอาชีพเสริม รร.ตชด.บ้านเขาวัง มีศิษย์เก่าที่ไม่ได้รับการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และผู้ปกครองนักเรียนมีความสนใจในการทำเครื่องเงินและเครื่องถม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกลุ่มเครื่องเงินบ้านเขาวัง เพื่อส่งเสริมงานหัตถกรรมท้องถิ่น สร้างรายได้ เสริมสร้างจิตสำนึกและสืบสานการทำเครื่องเงินและเครื่องถมของชาวนครศรีธรรมราช และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานการฝึกอบรมพัฒนาทักษะฝีมือ โดยมีวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช เป็นผู้ถ่ายทอดวิชาการทำเครื่องเงิน รวมทั้งพระราชทานงบประมาณการก่อสร้างอาคารที่ทำการกลุ่ม จัดตั้งกองทุนหมุนเวียน และทรงรับซื้อผลิตภัณฑ์มาจำหน่ายที่ร้านภูฟ้า
ประธานกลุ่ม นางปะติม๊ะ สุดภักดี
เบอร์โทรศัพท์ 09 3762 3058
สมาชิกกลุ่ม 12 คน ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ทำสวนผลไม้ และสวนยางพารา
ผลิตภัณฑ์ เครื่องเงิน เครื่องถม ประเภท สร้อยคอ สร้อยข้อมือ แหวน และต่างหู
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
- กลุ่มเครื่องเงินบ้านเขาวัง ใช้วิธีการดั้งเดิมในการผลิตเครื่องประดับเงิน คือ การทำมือ ซึ่งต้องใช้ความมานะอดทน และทักษะอย่างสูง มีขั้นตอนการทำผลิตภัณฑ์เครื่องเงินทั้งการหลอม การรีด การดึงลวด การบัดกรี(การเชื่อม) และการล้างขัด ให้เครื่องเงินออกมาประณีตสวยงาม
ช่องทางการจำหน่าย
- ร้านภูฟ้า
- ออนไลน์ Facebook : กลุ่มเครื่องเงินบ้านเขาวัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ที่ทำการกลุ่ม รร.ตชด.บ้านเขาวัง
การพระราชทานความช่วยเหลือ
- พระราชทานเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์การผลิต และพระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก จำนวน 140,000 บาท (ปี 2554)
- อาคารพระราชทาน ขนาด 8 เมตร x 16 เมตร จำนวน 450,000 บาท
กลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านหลังอ้ายหมี
ปีที่เข้าร่วม 2560
ที่ตั้ง ศกร.ตชด.บ้านหลังอ้ายหมี ตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
ความเป็นมา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงติดตามงานโครงการตามพระราชดำริ ณ ศกร.ตชด.บ้านหลังอ้ายหมี ทรงได้รับรายงานจากชาวบ้านว่ายางพาราให้ผลผลิตน้อย แต่ไม่สามารถตัดแล้วปลูกใหม่ทดแทนได้ เนื่องจากข้อกำหนดของกฎหมาย ทรงห่วงใยและมีพระราชประสงค์ให้ราษฎรมีอาชีพเสริม ให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น โดยให้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าในการปลูกพืชเสริมในระดับหรือเก็บของป่ามาเพิ่มมูลค่า ในระยะเริ่มแรกกลุ่มทดลองปลูกหญ้าลิเภาแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ และชาวบ้านได้เก็บลูกชกจำหน่ายในพื้นที่ ปัจจุบันกลุ่มได้ปลูกพืชที่นำมาทำเครื่องแกง เพื่อสร้างรายได้
ประธานกลุ่ม นางอำพรรัตน์ ชาวไชย
เบอร์โทรศัพท์ 09 3024 0138
สมาชิกกลุ่ม 26 คน ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม สวนยางพารา
ผลิตภัณฑ์ เครื่องแกงใต้
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
- เครื่องแกงใต้ ผลิตโดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นเป็นหลัก สด สะอาด นำมาคลุกเคล้ากับเครื่องเทศของภาคใต้ มีรสชาติเข้มข้น โดยเน้นสูตรการผลิตเครื่องแกงจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
ช่องทางการจำหน่าย
- ที่ทำการกลุ่ม และตลาดในพื้นที่
การพระราชทานความช่วยเหลือ
- เครื่องครัวพระราชทาน จำนวน 5 รายการ
- จักรเย็บผ้าพระราชทาน จำนวน 10 หลัง