กลุ่มอาชีพประชาชน จังหวัดนราธิวาส
กลุ่มแม่บ้านเขาตันหยง
ปีที่เข้าร่วม 2536
ที่ตั้ง 11/15 หมู่ที่ 4 ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ความเป็นมา บ้านเขาตันหยง เป็นชุมชนใกล้พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ เป็นหมู่บ้านหนึ่งในโครงการตามพระราชดำริ ประชาชนประกอบอาชีพประมง รับจ้างทั่วไป มีรายได้ครัวเรือนไม่มากนัก มีปัญหาทางสุขภาพ และโภชนาการในเด็ก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่วยเหลือประชาชนบ้านเขาตันหยง โดยการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิต ซึ่งชาวบ้านทำการถนอมอาหาร ผลิตน้ำบูดูไว้บริโภคในครัวเรือน จึงได้พัฒนาส่งเสริมให้ถูกสุขลักษณะมากขึ้น
ประธานกลุ่ม นางไอนา มะยูโซ๊ะ
เบอร์โทรศัพท์ 08 4587 7166
สมาชิกกลุ่ม 10 คน ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ทำสวนยางพาราและทำนา
ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม น้ำบูดู น้ำข้าวยำ สมันปลา
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
- น้ำข้าวยำ น้ำบูดู และสมันปลา เป็นอาหารท้องถิ่นของทางภาคใต้ ใช้วัตถุดิบปลาทะเล ที่หาง่ายในท้องถิ่น กลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ส่วนหนึ่งทำการประมง ออกเรือหาปลาทุกวัน แม่บ้านจะนำมาแปรรูปถนอมอาหารทะเล เช่น ปลากะตักมาหมักเป็นน้ำบูดู สำหรับน้ำข้าวยำ เป็นอาหารที่ทำรับประทานง่าย โดยนำน้ำข้าวยำ คลุกเคล้าข้าว ผักสด และปลาที่คั่วที่สามารถหาได้ในชุมชน คลุกให้เข้ากันและรับประทานได้เลย ข้าวยำอุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ รสชาติอร่อย เหมาะกับคนรักสุขภาพ
- สมันปลา หรือซามาอีแก อาหารท้องถิ่นทางภาคใต้ตอนล่าง ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศมาเลเซียและปรับปรุงให้เหมาะกับคนไทย ใช้วัตถุดิบมาจากปลาทะเล เพิ่มความมันด้วยมะพร้าว ปรุงรสด้วยพริกแห้ง กระเทียม หอมแดง เกลือ น้ำตาลแว่น และส้มแขก
- ผลิตภัณฑ์รับรองมาตรฐานฮาลาล และ อย.
ช่องทางการจำหน่าย
- ร้านภูฟ้า
การพระราชทานความช่วยเหลือ
- ปรับปรุงต่อเติมอาคารที่ทำการกลุ่ม เป็นเงิน 44,400 บาท (ปี 2556)
- การทำบรรจุภัณฑ์ และพระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก จำนวน 50,000 บาท
กลุ่มกะลามะพร้าวบ้านเขาตันหยง
ปีที่เข้าร่วม 2544
ที่ตั้ง 37 หมู่ที่ 5 ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
ความเป็นมา บ้านเขาตันหยง เป็นชุมชนใกล้พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ซึ่งประชาชนในหมู่บ้านมีอาชีพทำการประมงพื้นบ้าน และสวนมะพร้าวเป็นหลัก หลังจากว่างจากการทำประมง ชาวบ้านที่มีทักษะด้านงานช่าง งานประดิษฐ์ งานไม้ เลื่อยฉลุกะลามะพร้าว จึงนำกะลามะพร้าวมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือน เช่น ตะหลิว ทัพพี เป็นต้น
ประธานกลุ่ม นายอับดุลคอนิง เจะปูเตะ
เบอร์โทรศัพท์ 08 9467 7635
สมาชิกกลุ่ม 9 คน ประกอบอาชีพ รับจ้างทั่วไป
ผลิตภัณฑ์ ทัพพีตักข้าว กระบวย ตะเกียบ ตะหลิว จานรองสบู่ พวงกุญแจ เข็มขัด
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
- บ้านเขาตันหยง เป็นหมู่บ้านใกล้ทะเล ซึ่งในชุมชนมีมะพร้าวจำนวนมาก ชาวบ้านได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการแปรรูปกะลามะพร้าว พัฒนารูปแบบใหม่ เน้นการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ และประโยชน์ใช้สอยที่หลากหลาย ผลิตภัณฑ์จึงมีคุณค่า ผสานทั้งความงดงามแบบธรรมชาติ และประโยชน์ที่ลงตัว โดยมีผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน ของใช้ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนสิ่งของที่ระลึก
ช่องทางการจำหน่าย
- ร้านภูฟ้า
การพระราชทานความช่วยเหลือ
- เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์การผลิต จำนวน 20 รายการ (ปี 2568)
กลุ่มตัดเย็บบ้านตือลาฆอปาลัส
ปีที่เข้าร่วม 2541
ที่ตั้ง 66/1 หมู่ที่ 11 ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
ความเป็นมา บ้านตือลาฆอปาลัส เป็นหมู่บ้านใกล้พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ประชาชนมีรายได้ครัวเรือนไม่มากนัก พ่อบ้านประกอบอาชีพประมง และรับจ้างทั่วไป ส่วนแม่บ้านจะว่างงาน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่วยเหลือโดยการส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชน ซึ่งแม่บ้านจะมีทักษะในการตัดเย็บ โครงการส่วนพระองค์ฯ ได้ฝึกอบรมการตัดเย็บชุดนักเรียนให้กับสมาชิกกลุ่ม และรับซื้อเพื่อพระราชทานให้กับโรงเรียนในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงติดตามการดำเนินงานโรงเรียนในพื้นที่
ประธานกลุ่ม นางสาวอายดา อาแว
เบอร์โทรศัพท์ 08 7398 8196
สมาชิกกลุ่ม 13 คน ประกอบอาชีพ รับจ้างทั่วไป
ผลิตภัณฑ์ ชุดยูเบาะห์ ผ้าคลุมศีรษะสตรี ชุดนักเรียน
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
- ผ้าคลุมศีรษะ จากผ้าป่าน ผ้าบาวา วางลวดลายไว้ที่มุมผ้าด้านใดด้านหนึ่ง เมื่อนำผ้ามาคลุมผมสตรี มุมผ้าจะปรากฏบนด้านหลังของศีรษะ ทำให้มองเห็นเป็นลวดลายชัดเจน และปักตกแต่ง เพื่อเพิ่มมูลค่า
- ชุดนักเรียน และชุดประจำท้องถิ่น ของโรงเรียนมุสลิม (โรงเรียนในพื้นที่จ้างตัดเย็บ)
ช่องทางการจำหน่าย
- รับจ้างตัดเย็บ ณ ที่ทำการกลุ่ม
การพระราชทานความช่วยเหลือ
- พระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก จำนวน 30,000 บาท (ปี 2567)
- เครื่องตัดผ้า จำนวน 1 เครื่อง
- จักรอุตสาหกรรม ปี 2563 จำนวน 4 หลัง และ ปี 2567 จำนวน 2 หลัง
กลุ่มบางนราบาติก
ปีที่เข้าร่วม 2544
ที่ตั้ง 63 หมู่ที่ 2 ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ความเป็นมา ตั้งอยู่ในหมู่บ้านค่าย ซึ่งเป็นพื้นที่โครงการตามพระราชดำริ เดิมกลุ่มจัดตั้งอยู่แล้ว โครงการส่วนพระองค์ฯ ได้สนับสนุนการพัฒนาเทคนิคการผลิต สอนการทำบัญชี การคิดต้นทุนการผลิต และช่วยสนับสนุนสินค้ามาจำหน่ายที่ร้านภูฟ้า กลุ่มบางนราบาติกนอกจากจะเป็นแหล่งงานของวัยรุ่นในหมู่บ้านแล้ว ยังมีกิจกรรมเป็นแหล่งเรียนรู้ และสอนการทำบาติกให้เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านค่าย ซึ่งเป็นโรงเรียนในโครงการพระราชดำริ
ประธานกลุ่ม นางพัชราภรณ์ เจ๊ะมะลี
เบอร์โทรศัพท์ 08 6963 8158
สมาชิกกลุ่ม 10 คน ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ทำสวนยางพาราและรับจ้างทั่วไป
ผลิตภัณฑ์ ผ้าบาติก เช่น เสื้อลำลองแขนค้างคาว กางเกงเลย์ ถุงผ้า ผ้าพันชายหาด ผ้าคลุมไหล่
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
- ผ้าบาติก มีสีสันลวดลายที่น่าสนใจ แสดงถึงวิถีชีวิตธรรมชาติ นำมาบอกเล่าบนผืนผ้า ซึ่งนิยมเขียนเป็นลายสัตว์ใต้ทะเล เรือกอและใบไม้ ดอกไม้ ต่อมาได้ประยุกต์ลวดลายเป็นลายเรขาคณิต นำมาต่อกันให้เกิดลวดลายกราฟฟิกเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย รูปแบบลวดลายจะเขียนเทียนและระบายสีด้วยมือ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของผ้าบาติก
ช่องทางการจำหน่าย
- ร้านภูฟ้า
- ที่ทำการกลุ่ม
กลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านค่าย
ปีที่เข้าร่วม 2556
ที่ตั้ง 150 หมู่ที่ 2 ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ความเป็นมา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้ขยายกลุ่มอาชีพเพิ่มขึ้น โดยเน้นการช่วยเหลือราษฎรที่ยากจนและมีความต้องการอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ หลังจากว่างงานภาคเกษตรกรรม หมู่บ้านบ้านค่าย เป็นหมู่บ้านในเขตบริการของโรงเรียนบ้านค่าย ภายในชุมชนมีวัตถุดิบกระจูด ชาวบ้านมีทักษะการจักสานจึงได้นำกระจูดมาสร้างประโยชน์เป็นเครื่องใช้สอยในครัวเรือน
ประธานกลุ่ม นายโสภณ อีแบลอดิง
เบอร์โทรศัพท์ 08 0516 9098
สมาชิกกลุ่ม 20 คน ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ทำสวนยางพาราและทำนา
ผลิตภัณฑ์ จักสานกระจูด กระเป๋ารูปแบบต่าง ๆ พัด พวงกุญแจ แฟ้ม
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
- ผลิตภัณฑ์จากกระจูด ได้พัฒนารูปแบบใหม่ มีการนำเสื่อกระจูดมาตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์ เปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์และประโยชน์ใช้สอย ผลิตภัณฑ์เป็นชิ้นงานทำด้วยมือ เลือกใช้วัสดุพื้นถิ่นที่มีอยู่ในชุมชน พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายและทันสมัย มีการใช้ผ้าท้องถิ่นมาประยุกต์ตกแต่งผลิตภัณฑ์ให้มีเอกลักษณ์ และมีการนำวัสดุธรรมชาติใบลาน เข้ามาผสมผสาน ให้มีความงดงามมากยิ่งขึ้น
ช่องทางการจำหน่าย
- ร้านภูฟ้า
- ออนไลน์ Facebook : กลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านค่าย จังหวัดนราธิวาส
การพระราชทานความช่วยเหลือ
- อาคารที่ทำการกลุ่ม พร้อมตู้แสดงสินค้า เป็นเงิน 439,700 บาท (ปี 2565)
- พระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก จำนวน 25,000 บาท (ปี 2556)

กลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านยาบี
ปีที่เข้าร่วม 2567
ที่ตั้ง บ้านยาบี ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ประธานกลุ่ม นายต่อศักดิ์ หมัดหมาน
เบอร์โทรศัพท์ 09 4907 1078
สมาชิกกลุ่ม 17 คน ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ทำสวนยางพารา ทำนา และรับจ้าง
ผลิตภัณฑ์ จักสานกระจูด เตยปาหนัน เช่น กระเป๋า ซองใส่ของ กล่องทิชชู่
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
- ผลิตภัณฑ์กระจูด มีการถ่ายทอดภูมิปัญญา จากเดิมทำไว้ใช้เป็นเครื่องใช้สอยในครัวเรือน ปัจจุบันมีการพัฒนาสร้างสรรค์โดยนำเส้นกระจูดไปย้อมสี แล้วนำมาสานทำให้มีลวดลายที่น่าสนใจ มีลายรูปแบบใหม่ เช่น ลาย ก. และลาย S อีกทั้งมีการนำมาผสมผสานกับวัสดุอื่น เพื่อต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ใบลาน ซึ่งมีสีขาวนวล นำไปผสานกับเส้นกระจูด ทำเป็นผลิตภัณฑ์กระเป๋า เป็นต้น
ช่องทางการจำหน่าย
- ที่ทำการกลุ่ม
การพระราชทานความช่วยเหลือ
- พระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก จำนวน 30,000 บาท (ปี 2567)
กลุ่มบาติกบ้านลาโละ
ปีที่เข้าร่วม 2554
ที่ตั้ง 148 หมู่ที่ 7 ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ความเป็นมา โรงเรียนอิบตีดาวิทยา เป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในโครงการพระราชดำริ มีกิจกรรมส่งเสริมการฝึกอาชีพของโรงเรียน โดยมีการจัดกิจกรรมให้นักเรียนรวมกลุ่มกันทำผ้าบาติก เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าพันคอ เพื่อฝึกทักษะกลุ่มเด็กนักเรียนให้มีความพร้อมในการประกอบอาชีพ
ประธานกลุ่ม นายศุภกิจ บินลาเซ็ง
เบอร์โทรศัพท์ 08 1097 3139
สมาชิกกลุ่ม 20 คน ประกอบอาชีพ นักเรียนโรงเรียนอิบตีดาวิทยา
ผลิตภัณฑ์ ผ้าบาติก เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าคลุมไหล่บาติก
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
- ผ้าบาติก มีสีสันลวดลายที่น่าสนใจ แสดงถึงวิถีชีวิตธรรมชาติ นำมาบอกเล่าบนผืนผ้า ซึ่งนิยมเขียนเป็นลายสัตว์ใต้ทะเล เรือกอ และใบไม้ ดอกไม้ ต่อมาได้ประยุกต์ลวดลายเป็นลายเรขาคณิต นำมาต่อกันให้เกิดลวดลายกราฟฟิกเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย รูปแบบลวดลายจะเขียนเทียนและระบายสีด้วยมือ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของผ้าบาติก
ช่องทางการจำหน่าย
- ร้านภูฟ้า
การพระราชทานความช่วยเหลือ
- พระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก จำนวน 24,900 บาท (ปี 2554)
- วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือ จำนวน 25,100 บาท (ปี 2554)
กลุ่มแม่บ้านไอร์จาดา
ปีที่เข้าร่วม 2560
ที่ตั้ง รร.ตชด.การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ตำบลโคกสะตอ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ประธานกลุ่ม นางสาวมาดีนา มะแซ
เบอร์โทรศัพท์ 09 4907 1078
สมาชิกกลุ่ม 17 คน ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ทำสวนยางพาราและทำนา
ผลิตภัณฑ์ กะทิสด มะพร้าวคั่ว กล้วยฉาบ มะละกอกรอบแก้ว
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
- ในพื้นที่มีวัตถุดิบ มะพร้าว กล้วย มะละกอ เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านได้นำผลผลิตเกษตรในชุมชนมาแปรรูปจำหน่าย
ช่องทางการจำหน่าย
- ที่ทำการกลุ่ม
การพระราชทานความช่วยเหลือ
- พระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก จำนวน 10,000 บาท (ปี 2565)
- เครื่องมือและอุปกรณ์ จำนวน 10 รายการ เป็นเงิน 47,625 บาท (ปี 2565)
- เครื่องครัวสเตนเลส จำนวน 4 รายการ (ปี 2565)
กลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านศาลาใหม่
ปีที่เข้าร่วม 2546
ที่ตั้ง รร.จรรยาอิสลาม ตำบลศาลาใหม่ อำเภอศาลาใหม่ จังหวัดนราธิวาส
ความเป็นมา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายการส่งเสริมอาชีพ จากหมู่บ้านเขาตันหยงไปยังอำเภอรือเสาะและอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส โครงการส่วนพระองค์ฯ ร่วมกับ กศน.นราธิวาส ได้สำรวจข้อมูลเพื่อจัดตั้งกลุ่มอาชีพ และพัฒนาอาชีพให้กับประชาชนพื้นที่รอบโรงเรียนสอนศาสนา โดยสมาชิกเป็นประชาชนรอบโรงเรียนจรรยาอิสลาม โรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ มีทักษะการตัดเย็บ และปักผ้า
ประธานกลุ่ม นางสาวฮาลีเม๊าะ มะหลง
เบอร์โทรศัพท์ 08 6959 1764
สมาชิกกลุ่ม 26 คน ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ทำสวนยางพาราและทำนา
ผลิตภัณฑ์ ตัดเย็บและปักผ้า เช่น กระเป๋าใส่ดินสอ ซองใส่แว่นตา ปลอกหมอน ผ้าคลุมผม จักสานกระจูด กระเป๋ากระจูดปักลาย และกระเชอ
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
- แม่บ้านมุสลิม มีภูมิปัญญาด้านการตัดเย็บและปักผ้า เป็นลวดลายดอกแบบต่างๆ ทำเป็นผ้าคลุมผมใช้ในชีวิตประจำวัน ต่อมาได้มีการประยุกต์ลวดลาย และตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์ให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น
- จักสานกระจูด เป็นผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของภาคใต้ที่สืบทอดกันมา โดยนำกระจูด พืชที่พบมากในพื้นที่ มาจักสานเป็นของใช้ในครัวเรือน และได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายและทันสมัย ด้วยการเพิ่มเทคนิคการปักลวดลายด้วยมือ
ช่องทางการจำหน่าย
- ร้านภูฟ้า
- ออนไลน์ Facebook: กลุ่มพัฒนาอาชีพศาลาใหม่
การพระราชทานความช่วยเหลือ
- เครื่องรีดกระจูด จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 53,000 บาท (ปี 2565)
- จักรโพ้งไฟฟ้า 3 เส้น จำนวน 1 หลัง (ปี 2565)
กลุ่มแม่บ้านปูลาเจ๊ะมูดอ
ปีที่เข้าร่วม 2555
ที่ตั้ง 59/1 หมู่ที่ 5 ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ความเป็นมา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายการส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชนในพื้นที่รอบโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ โดยบ้านปูลาเจ๊ะมูดอ เป็นพื้นที่บริการของโรงเรียนบ้านศาลาใหม่ สมาชิกมีพื้นฐานในการจักสานกระจูด โครงการส่วนพระองค์ฯ ได้ส่งเสริมพัฒนาอาชีพ จัดอบรมให้ความรู้แก่ชาวบ้าน ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และจัดตั้งกลุ่มขึ้น
ประธานกลุ่ม นางมามูเน๊า สะลูโว๊ะ
เบอร์โทรศัพท์ 08 6299 2411
สมาชิกกลุ่ม 8 คน ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ทำสวนยางพาราและทำนา
ผลิตภัณฑ์ จักสานกระจูด กระเชอ กล่องใส่ของ กล่องใส่กระดาษทิชชู่
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
- ผลิตภัณฑ์จากกระจูด ได้พัฒนารูปแบบใหม่ มีการนำเสื่อกระจูดมาตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อประโยชน์ใช้สอย ผลิตภัณฑ์เป็นชิ้นงานทำด้วยมือ และทำจากวัสดุพื้นถิ่นที่มีอยู่ในชุมชน
ช่องทางการจำหน่าย
- ร้านภูฟ้า
การพระราชทานความช่วยเหลือ
- พระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก เป็นเงิน 27,000 บาท (ปี 2555)
กลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านไอร์บือแต
ปีที่เข้าร่วม 2552
ที่ตั้ง รร.ตชด.บ้านไอร์บือแต ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ความเป็นมา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายการส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชนในพื้นที่รอบโรงเรียนในโครงการพระราชดำริ โดยมีผู้ปกครองนักเรียน รร.ตชด.บ้านไอร์บือแต และชาวบ้านที่มีทักษะการตัดเย็บ รวมกลุ่มกัน โครงการส่วนพระองค์ฯ ได้ฝึกอบรม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และจัดตั้งกลุ่มอาชีพขึ้น
ประธานกลุ่ม นางสุพิน นวลทะวัน
เบอร์โทรศัพท์ 09 2945 6650
สมาชิกกลุ่ม 11 คน ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ทำสวนยางพารา สวนผลไม้ และทำนา
ผลิตภัณฑ์ ตัดเย็บและปักผ้า
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
- งานปักมือ เป็นงานฝีมือที่ต้องอาศัยความชำนาญในการทำ ผสมจินตนาการและสีสันอันหลากหลายจากเส้นไหมที่ปัก เพื่อให้เกิดลวดลายที่สวยงาม แม่บ้านไอร์บือแต จะใช้เวลาว่างในการพบปะและนั่งปักผ้าด้วยกัน โดยนำผ้าปักไปดีไซน์แปรรูปเป็นกระเป๋ารูปแบบต่าง ๆ โดยใช้ลวดลายที่พบในท้องถิ่น เช่น ดอกไม้ สัตว์ ที่พบในเทือกเขาฮาลาบาลา ป่าดงดิบที่อุดมสมบูรณ์ ดอกบือแตที่เป็นชื่อเรียกบ้านบือแต ใบไม้สีทอง หรือย่านดาโอ๊ะ เป็นพืชที่พบในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ เป็นต้น จุดเด่นของงานปักมือ ให้สัมผัสที่นุ่มนวล ดูเป็นธรรมชาติ
ช่องทางการจำหน่าย
- ร้านภูฟ้า
การพระราชทานความช่วยเหลือ
- จักรพระราชทาน จำนวน 2 หลัง (ปี 2554)