กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์

กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนบ้านโนนสวัสดิ์

ปีที่เข้าร่วม        2556

ที่ตั้ง                   หมู่ที่ 7 ตำบลนาบอน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนบ้านฮ่องฮี

ปีที่เข้าร่วม        2557

ที่ตั้ง                  หมู่ที่ 14 ตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนบ้านโนนเมือง

ปีที่เข้าร่วม        2558

ที่ตั้ง                   หมู่ที่ 7 ตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ 

ประธานกลุ่ม    นายจำลอง จงฤาชา 

สมาชิกกลุ่ม       43 คน ประกอบอาชีพ ทำสวน และเลี้ยงสัตว์ 

 

   กิจกรรมระดับครัวเรือน

  • ปลูกพืชผักสวนครัวไว้สำหรับบริโภคภายในครัวเรือนและจำหน่ายในชุมชน    
  • เลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่พันธุ์ไข่ เลี้ยงปลาในกระชัง เป็นต้น

 

   กิจกรรมกลุ่ม

  • ด้านการบริหารจัดการและกระบวนการกลุ่ม   
    • การจัดตั้งคณะกรรมการในการบริหารจัดการกลุ่ม
    • การกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่ม

  • ด้านการผลิตของกลุ่ม
    • การทำน้ำยาเอนกประสงค์
    • การทำปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพ
    • ผลิตภัณฑ์ชาใบสัก

  • ด้านการเงินและบัญชี
    • การออมทรัพย์ของกลุ่ม สมาชิกออมเงินเดือนละ 10 บาท
    • การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกลุ่ม (รายเดือน)

  • ด้านการช่วยเหลือสังคม
    • บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในชุมชน เช่น ร่วมงานบุญประเพณีต่างๆ ช่วยเหลือสมาชิกที่เสียชีวิต และพัฒนาหมู่บ้าน เป็นต้น

 

    การพระราชทานความช่วยเหลือ

  • พระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนสำรองจ่ายและแหล่งเงินหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก จำนวน 20,000 บาท

กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนบ้านบึง

ปีที่เข้าร่วม        2559

ที่ตั้ง                   หมู่ที่ 5 ตำบลหมูม่น อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ 

กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนบ้านแกแปะ

ปีที่เข้าร่วม        2560

ที่ตั้ง                   หมู่ที่ 7 ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

ประธานกลุ่ม    นายเนียม เฉิดละออ

สมาชิกกลุ่ม       44 คน ประกอบอาชีพ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ และทำงานจักสาน

 

   กิจกรรมระดับครัวเรือน

  • ปลูกพืชผักสวนครัวไว้สำหรับบริโภคภายในครัวเรือนและจำหน่ายในชุมชน เช่น คะน้า ถั่วฝักยาว ฟักทอง ตะไคร้ มะนาว มะกรูด พริกหยวก กะเพรา โหระพา บวบเหลี่ยม เห็ดฟาง เป็นต้น
  • ปลูกไม้ผล เช่น กล้วย มะม่วง เป็นต้น     
  • เลี้ยงสัตว์ เช่น โค สุกร แพะ ปลา เป็นต้น
  • การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของครัวเรือน (รายวัน)

 

   กิจกรรมกลุ่ม

  • ด้านการบริหารจัดการและกระบวนการกลุ่ม   
    • การจัดตั้งคณะกรรมการในการบริหารจัดการกลุ่ม
    • การกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่ม

  • ด้านการผลิตของกลุ่ม
    • ปลูกผักจำหน่ายในชุมชน ตลาดเกษตรกร และโรงพยาบาล
    • น้ำมันไพร และยาหม่องไพร
    • การแปรรูป ได้แก่ หน่อไม้หั่นฝอย กล้วยฉาบ และมะม่วงกวน
    • จักสานแผ่นรองก้นหวดนึ่งข้าว

  • ด้านการเงินและบัญชี
    • การออมทรัพย์ของกลุ่ม สมาชิกออมเงินเดือนละ 20 บาท
    • การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกลุ่ม (รายเดือน)

  • ด้านการช่วยเหลือสังคม
    • นำผลผลิตของกลุ่มมาแปรรูปเป็นขนม และของหวาน ไปแจกให้แก่ผู้ร่วมงานบุญประเพณีต่างๆ ในชุมชน 

 

    การพระราชทานความช่วยเหลือ

  • พระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนสำรองจ่ายและแหล่งเงินหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก จำนวน 20,000 บาท
  • พระราชทานเครื่องสีข้าวอัตรากำลัง 80-100 กิโลกรัม/ชั่วโมง จำนวน 1 เครื่อง