กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนจังหวัดระนอง

กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนบ้านบางไทร

ปีที่เข้าร่วม        2558

ที่ตั้ง                   หมู่ที่ 8  ตำบลมะมุ  อำเภอกระบุรี  จังหวัดระนอง  

ประธานกลุ่ม     นายกฤษฎา สุขทอง 

สมาชิกกลุ่ม       30 คน ประกอบอาชีพ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ และรับจ้างทั่วไป 

 

   กิจกรรมระดับครัวเรือน

  • ทำสวนปาล์ม ยางพารา หมาก
  • เลี้ยงสัตว์ ได้แก่ ไก่ หมู โค เป็ด เป็ดเทศ ปลาดุก ปลานิล ปลาทับทิม ปลาตะเพียน 
  • การปลูกพืชผักสวนครัวไว้สำหรับบริโภคภายในครัวเรือน ได้แก่ ผักบุ้ง พริก กวางตุ้ง คะน้า มะเขือ กุยช่าย ตะไคร้ มะกรูด 
  • ปลูกไม้ผล ได้แก่ กล้วย มะละกอ ทุเรียน มังคุด เมลอน 
  • การทำบัญชีรายรับรายจ่ายครัวเรือน (รายวัน)

 

   กิจกรรมกลุ่ม

  • ด้านการบริหารจัดการและกระบวนการกลุ่ม
    • การจัดตั้งคณะกรรมการในการบริหารจัดการกลุ่ม
    • การกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่ม
    • การประชุมกลุ่มทุกวันที่ 6 ของเดือน

  • ด้านการผลิตของกลุ่ม
    • การทำดินปุ๋ยบรรจุถุง
    • การปลูกผักปลอดสาร
    • การเพาะเห็ดนางฟ้า
    • การเลี้ยงหมูหลุม
    • การแปรรูป ได้แก่ ข้าวเกรียบใบเหลียง 

  • ด้านการเงินและบัญชี
    • การออมทรัพย์ของกลุ่ม สมาชิกออมเงินเดือนละ 100 บาท 

 

    การพระราชทานความช่วยเหลือ

  • พระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนสำรองจ่ายและแหล่งเงินหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก จำนวน 20,000 บาท 

  

กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนบ้านบุรีรัมย์

ปีที่เข้าร่วม        2559

ที่ตั้ง                   หมู่ที่ 1 ตำบลในวงใต้ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง

ประธานกลุ่ม     นายสมชาย ทิศกระโทก 

สมาชิกกลุ่ม       30 คน ประกอบอาชีพ ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ 

 

   กิจกรรมระดับครัวเรือน

  • ทำสวนทุเรียน มังคุด หมาก 
  • เลี้ยงสัตว์ ได้แก่ ไก่พันธุ์พื้นเมือง เป็ดเทศ ปลาดุก ปลานิล 
  • การปลูกพืชผักสวนครัวไว้สำหรับบริโภคภายในครัวเรือน ได้แก่ เหลียง กวางตุ้ง ผักบุ้ง มะเขือ ต้นหอม พริก กุยช่าย ข่า มะนาว เป็นต้น
  • ปลูกไม้ผล ได้แก่ กล้วย ทุเรียน มังคุด มะม่วงหิมพานต์ สับปะรด มะละกอ มะพร้าว ส้ม ขนุน มะม่วง แก้วมังกร เป็นต้น  

 

   กิจกรรมกลุ่ม

  • ด้านการบริหารจัดการและกระบวนการกลุ่ม
    • การจัดตั้งคณะกรรมการในการบริหารจัดการกลุ่ม
    • การกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่ม
    • การประชุมกลุ่มทุกเดือน
    • จัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ให้กับบุคคลที่สนใจทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่เข้ามาศึกษาดูงาน

  • ด้านการผลิตของกลุ่ม
    • การทอเสื่อกก
    • การทำไม้กวาดดอกอ้อ
    • การปลูกผัก ได้แก่ ผักสลัด มะเขือเทศ พริก
    • การเพาะเห็ดนางฟ้า
    • การเลี้ยงจิ้งหรีด
    • การแปรรูป ได้แก่ ทุเรียนกวน ทุเรียนทอด กล้วยฉาบ

  • ด้านการเงินและบัญชี
    • การออมทรัพย์ของกลุ่ม สมาชิกออมเงินเดือนละ 30 บาท
    • การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกลุ่ม (รายเดือน)
  • ด้านการช่วยเหลือสังคม
    • ร่วมกิจกรรมจิตอาสากับหน่วยงานต่างๆ

 

    การพระราชทานความช่วยเหลือ

  • พระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนสำรองจ่ายและแหล่งเงินหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก จำนวน 20,000 บาท 

  

 

กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนบ้านบางปรุ

ปีที่เข้าร่วม        2560

ที่ตั้ง                   หมู่ที่ 7  ตำบลกะเปอร์  อำเภอกะเปอร์  จังหวัดระนอง

ประธานกลุ่ม     นายพงศ์พัฒน์  พริ้มแก้ว     

สมาชิกกลุ่ม       30 คน ประกอบอาชีพ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ 

 

   กิจกรรมระดับครัวเรือน

  • เลี้ยงสัตว์ ได้แก่  ไก่ เป็ด หมู แพะ วัว ปลาดุก ปลานิลแดง ปลาทับทิม 
  • การปลูกพืชผักสวนครัวไว้สำหรับบริโภคภายในครัวเรือน ได้แก่ ผักสลัด บวบ ถั่วฝักยาว กวางตุ้ง มะเขือ พริก พริกไทย ตะไคร้ กะเพรา ข่า มะนาว ชะอม สะตอ เป็นต้น 
  • ปลูกไม้ผล ได้แก่ กล้วย ทุเรียน มังคุด มะม่วงหิมพานต์ สับปะรด มะละกอ มะพร้าว ขนุน
  • การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของครัวเรือน (รายวัน)

 

   กิจกรรมกลุ่ม

  • ด้านการบริหารจัดการและกระบวนการกลุ่ม
    • การจัดตั้งคณะกรรมการในการบริหารจัดการกลุ่ม
    • การกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่ม
    • การประชุมกลุ่มทุกวันที่ 7 ของเดือน 
    • จัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง มีฐานเรียนรู้ 7 ฐาน ให้ความรู้กับบุคคลที่สนใจทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่เข้ามาศึกษาดูงาน    

  • ด้านการผลิตของกลุ่ม
    • การปลูกผักและผลไม้แปลงรวม  
    • การทำเครื่องจักสาน เช่น เครื่องจักสานจากต้นคลุ้ม สานเสื่อจากเตยป่า เป็นต้น
    • การเลี้ยงปลาน้ำจืด
    • การทำน้ำยาเอนกประสงค์
    • การแปรรูป ได้แก่ ปลาแดดเดียว ปลาส้ม น้ำดื่มสมุนไพร เช่น น้ำดอกดาหลา น้ำลูกยอ น้ำผักกระสัง เป็นต้น ไข่เค็มสมุนไพร

  • ด้านการเงินและบัญชี
    • การออมทรัพย์ของกลุ่ม สมาชิกออมเงินเดือนละ 50 บาท
    • การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกลุ่ม (รายเดือน)
  • ด้านการช่วยเหลือสังคม
    • ร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่

 

    การพระราชทานความช่วยเหลือ

  • พระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนสำรองจ่ายและแหล่งเงินหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก จำนวน 20,000 บาท